วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แนวทางป้องกันและการแก้ไขปัญหา กรณีนักเรียนถูกล่วงละเมิดสิทธิ

คอลัมน์: สถานี ก.ค.ศ.: แนวทางป้องกันและการแก้ไขปัญหา กรณีนักเรียนถูกล่วงละเมิดสิทธิ

ประสาน ยินดีชัย ผู้อำนวยการภารกิจเสริมสร้างและมาตรฐานวินัย
 
ด้วยปรากฏว่า มีนักเรียนเป็นจำนวนมากถูกล่วงละเมิดสิทธิทั้งล่วงละเมิดทางร่างกายและล่วงละเมิดทางเพศ อันเกิดจากการกระทำของครูที่สอนและมีความใกล้ชิดกับนักเรียนเหล่านั้น และบุคคลภายนอก สำนักงาน ก.ค.ศ.มีความห่วงใย และตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพของเด็กนักเรียนที่ถูกกระทำ จึงขอวิงวอนให้เพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษาพึงปฏิบัติดังนี้ 
1.ครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องไม่กระทำการล่วงละเมิดทางร่างกายนักเรียน โดยไม่มีสิทธิหรือโดยมิชอบ อันได้แก่การทำร้ายร่างกาย การลงโทษนักเรียนเกินกว่าเหตุ หรือโดยวิธีที่ไม่เหมาะสม
2.ครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องไม่กระทำการล่วงละเมิดทางเพศ หรือมีพฤติการณ์ไม่เหมาะสมในทางเพศกับนักเรียนดังต่อไปนี้
2.1 กระทำชำเรา ไม่ว่ากระทำโดยที่นักเรียนยินยอมหรือไม่ก็ตาม หรือกระทำอนาจารต่อนักเรียน เช่น สัมผัส กอดรัด จับต้องอวัยวะอันพึงสงวน หรือแตะต้องเนื้อตัวร่างกายด้วยอารมณ์ใคร่
2.2 กระทำการใดๆ อันเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนค้าประเวณี ซึ่งรวมถึงการใช้บริการทางเพศจากนักเรียน
2.3 กระทำการใดๆ อันเป็นลักษณะมีความสัมพันธ์ในทางชู้สาวกับนักเรียน เช่น การอยู่กับนักเรียนตามลำพัง ในที่รโหฐานหรือในสถานที่อันไม่เหมาะสม เว้นแต่มีเหตุผลอันสมควร
2.4 กระทำการใดๆ อันเป็นการก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถานภาพนักเรียน เช่น พานักเรียนไปเที่ยวในสถานที่ต่างๆ ที่ไม่เหมาะสม โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
3.ครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องไม่กระทำการใดอันเป็นการล่วงละเมิดด้วยวาจา อากัปกิริยา เช่น พูดจาเกี้ยวพาราสี พูดดูหมิ่น หยาบคาย หลอกลวง หรือกระทำการใดอันเป็นการบีบคั้นจิตใจนักเรียน
4.ให้ตระหนักในหน้าที่ของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่จะต้องสอดส่องดูแลด้วยความเข้าใจ จิตวิทยาวัยรุ่นประกอบด้วยหลักเมตตาธรรม พร้อมทั้งประสานกับพ่อแม่ ผู้ปกครองของนักเรียน
5.ให้ถือเป็นหน้าที่ของครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องให้ความช่วยเหลือนักเรียนที่ถูกละเมิดทางเพศตามความเหมาะสม 
ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาควรให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง นักเรียน ในเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับการปกป้องคุ้มครองสิทธินักเรียน 
นอกจากนี้ผู้บริหารสถานศึกษายังจะต้องควบคุม ดูแล มิให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามีพฤติการณ์ดังกล่าวข้างต้น ในกรณีที่มีเหตุการณ์ล่วงละเมิดสิทธินักเรียน ต้องรีบดำเนินการให้ความช่วยเหลือบำบัดและฟื้นฟูจิตใจของนักเรียนทันที และรายงานผู้บังคับบัญชาหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป 

วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เอกสารความรู้ที่เกี่ยวข้องในการสอบพนักงานราชการตำแหน่งครู กศน.ตำบล

ที่มา Board กศน.อำเภอบ้านแพรก จ.พระนครศรีอยุธยา

ด้วยสำนักงาน กศน.จะรับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการ ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบล ในหลักเกณฑ์ข้อ 8 ของประกาศนั้นมีการสอบข้อเขียน และมีหัวข้อที่ใช้ในการสอบเพื่อทดสอบความรู้ จำนวน 10 เรื่อง มีเพื่อน พี่ น้องครู ศรช. ที่เป็นสมาชิกบอร์ด สอบถามอยากให้ลงข้อมูลไว้ เพื่อการช่วยเหลือและการแบ่งปันของพวกเราชาวครู ศรช. ด้วยกันครับ ผมจึงได้นำมารวบรวมไว้ในหัวข้อนี้ อาจจะไม่ครอบคลุมทั้งหมด แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งปันซึ่งกันและกัน ให้หาข้อมูลได้ง่ายขึ้น รายละเอียดตามลิ้งค์ด้านล่างครับ....

1.พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และฉบับปรับปรุง
http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php/topic,1212.0.html

สรุปพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และฉบับปรับปรุง
http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php/topic,15.0.html

2.พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546
http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php/topic,1216.0.html

3.พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2551
http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php/topic,1219.0.html

4.ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ.2547
http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php/topic,1223.0.html

สรุประบบพนักงานราชการ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ.2547
http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php/topic,1293.0.html

5.พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php/topic,1287.0.html

สรุปพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php/topic,1294.0.html

6.พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2540
http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php/topic,1288.0.html

สรุปพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2540
http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php/topic,1295.0.html

7.นโยบายและยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงาน กศน.
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2551-2554
http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php/topic,1289.0.html

แผนปฏิบัติราชการสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2553-2556
http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php/topic,1290.0.html

แผนปฏิบัติราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2554
http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php/topic,1291.0.html

นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงานของสำนักงาน กศน. ปีงบประมาณ 2554
http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php/topic,1292.0.html

8.การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยแหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบลหรือแขวง พ.ศ. 2553
http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php/topic,841.0.html

ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยอาสาสมัคร กศน พ.ศ.2551
http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php/topic,836.0.html

ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยศูนย์การเรียนชุมชน พ.ศ.2552
http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php/topic,835.0.html

หลักการของการจัดการศึกษานอกระบบ และปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวกับการศึกษานอกระบบ
http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php/topic,592.0.html

ปรัชญา"คิดเป็น"
http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php/topic,540.0.html

แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้ใหญ่
http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php/topic,68.0.html

การศึกษานอกระบบ (Non-formal Education)
http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php/topic,654.0.html

การศึกษาต่อเนื่อง (Continuing Education)
http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php/topic,653.0.html

การศึกษาทางไกล (Distance Learning)

http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php/topic,656.0.html

9.การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชุมชน
http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php/topic,1310.0.html

10.การจัดทำฐานข้อมูล
(รอข้อมูล)

*****************************************

หวังว่าทั้งหมดนี้จะเป็นประโยชน์กับครู ศรช. และขอให้ผ่านการสอบทุกคนครับ

อาสาสมัคร กศน.

1. ความเป็นมาและความสำคัญ

      พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 มาตรา 9 วรรค 3 กำหนดให้ผู้ส่งเสริมและสนับสนุน ซึ่งเป็นผู้เอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้เรียนและผู้จัดการเรียนรู้ มีการดำเนินการที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มาตรา 10 วรรค 2 การจัดการศึกษา การพัฒนาวิชาการ และบุคลากร การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรเพื่อการศึกษา และการยกย่องประกาศเกียรติคุณสำหรับผู้จัดการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และวรรค 3 สิทธิประโยชน์ตามความเหมาะสมให้แก่ผู้ส่งเสริมและสนับสนุน สำนักงาน กศน. ในฐานะเป็นองค์กรหลักในการส่งเสริม สนับสนุน และจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชน โดยมุ่งเน้นให้บุคคลมีความรู้ ประสบการณ์ และความพร้อมในการที่จะสนับสนุนส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนในชุมชน ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการเรียนรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ที่อยู่นอกระบบ ให้ได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องและทั่งถึง เพื่อพัฒนากำลังคน และสังคมของประเทศ

     กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ออกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 ขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

2. ความหมาย

       อาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เรียกชื่อโดยย่อว่า อาสาสมัคร กศน. (Non-Formal and Informal Education Voluteer: NIEV)
     อาสาสมัคร กศน. หมายถึง บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถและสมัครใจทำงานเพื่อสังคมในด้านการศึกษา โดยไม่รับค่าตอบแทนในหมวดเงินเดือนและได้รับการฝึกอบรมก่อนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาสาสมัคร กศน. 

3. วัตถุประสงค์การมีอาสาสมัคร กศน.

1) เพื่อให้คนที่มีความรู้ความสามารถและจิตอาสาในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ประสบการณ์เฉพาะด้าน ได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนในชุมชนได้อย่างทั่วถึง
2) เพื่อช่วยบรรเทาภาวะขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้เฉพาะด้านทางการศึกษา ในชุมชน
3) เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน

4.วิธีดำเนินการ

วิธีดำเนินในการสรรหา คัดเลือก อบรมและแต่งตั้งอาสาสมัคร กศน. มี 5 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1 กศน.อำเภอ/เขต ร่วมกับชุมชนดำเนินการสรรหาและคัดเลือก อาสาสมัคร กศน. ดังนี้


1) คุณสมบัติทั่วไปของ อาสาสมัคร กศน

1.1) อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
1.2) เป็นผู้ที่สมัครใจและเสียสละเพื่อช่วยงานการศึกษาตลอดชีวิตของประชาชน
1.3) เป็นผู้มีภูมิลำเนาหรือมีถิ่นที่อยู่ประจำในหมู่บ้านหรือชุมชน
1.4) เป็นผู้มีความรู้ความสามารถและสามารถอ่านออกเขียนได้
1.5) เป็นบุคคลที่กรรมการหมู่บ้านหรือประชาชนรับรองว่าเป็นผู้ที่มีความประพฤติอยู่ในกรอบศีลธรรมอันดี ได้รับความไว้วางใจและยกย่องจากประชาชน

ในกรณีที่คุณสมบัติไม่ครบตามข้อ 1.1) ถึงข้อ1.5) ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด/กรุงเทพมหานคร โดยยึดประโยชน์ของชุมชนเป็นหลัก

2) คุณลักษณะของอาสาสมัคร กศน.

2.1) มีจิตบริการ คือมีความพร้อมและเต็มใจที่จะดำเนินการช่วยเหลือหรือเป็นธุระให้งานต่าง ๆเสร็จลุล่วงไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ
2.2) ให้บริการประชาชนอย่างมีคุณภาพ คือทำงานด้วยความรวดเร็ว เสมอภาคไม่เลือกปฏิบัติ มีความรอบคอบในการทำงาน ไม่สร้างปัญหาภายหลัง หรือต้องให้ผู้รับบริการกลับมาร้องเรียนหรือขอแก้ไขในเรื่องเดิมอีก
2.3) ให้ความสำคัญแก่ผู้พลาดโอกาส ขาดโอกาส และด้อยโอกาส โดยการให้ความช่วยเหลือ ดูแลด้วยความห่วงใย จริงใจ
2.4) พร้อมรับการตรวจสอบจากทุกฝ่าย  คือการทำงานด้วยความรับผิดชอบอย่างเต็มความสามารถ โปร่งใส มีเหตุผลและพร้อมรับการตรวจสอบในทุกกรณี
2.5) รักษาเอกลักษณ์ของความเป็นไทย คือการแสดงออกถึงวัฒนธรรมและบุคลิกที่ดีงามของความเป็นไทย มีจิตใจโอบอ้อมอารี ยิ้มแย้มแจ่มใส และทำงานด้วยความอดทนและอดกลั้น

3) การคัดเลือกอาสาสมัคร  ในการคัดเลือกอาสาสมัคร กศน. ให้กำหนดตามจำนวนหลังคาเลือนในชุมชน โดยจำนวนไม่เกิน 50 หลังคาเรือนให้มีอาสาสมัคร กศน.ได้ไม่เกิน 1 คน สำหรับในพื้นที่ที่มีจำนวนหลังคาเรือนเกิน 50 หลังคาเรือน ให้อยู่ในดุลยพินิจ ของ กศน.อำเภอ/เขต และให้รายงานต่อ สำนักงาน กศน.จังหวัด/กรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี ทราบ

ขั้นตอนที่ 2 สำนักงาน กศน.จังหวัด/กรุงเทพมหานคร จัดให้อาสาสมัคร กศน. เข้ารับการฝึกอบรม ในเนื้อหาสาระ ดังต่อไปนี้

1) การสร้างพลังจิตอาสาในชุมชน
2) งาน กศน. กับการเสริมสร้างคุณภาพชีวิต
3) กลยุทธ์สู่ความสำเร็จในการทำงาน
4) แผนปฏิบัติงานรายเดือน : 30 วัน สู่ความสำเร็จ

ขั้นตอนที่ 3 ผอ.สำนักงาน กศน. จังหวัด/กรุงเทพมหานคร เสนอรายชื่ออาสาสมัครให้แก่คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัด/กรุงเทพมหานคร ให้ความเห็นชอบ ก่อนการแต่งตั้ง

ขั้นตอนที่ 4 สำนักงาน กศน. จังหวัด/กรุงเทพมหานคร ขึ้นทะเบียนอาสาสมัคร กศน. ที่ผ่านการอบรม และออกบัตรประจำตัวให้แก่อาสาสมัคร กศน.

ขั้นตอนที่ 5 กศน.อำเภอ/เขต แต่งตั้งอาสาสมัคร กศน. ที่ผ่านการอบรม และคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัด/กรุงเทพมหานคร ให้ความเห็นชอบ

5. บทบาทหน้าที่

5.1 บทบาทของ สำนักงาน กศน.จังหวัด/กรุงเทพมหานคร

1) กำหนดนโยบายและหลักเกณฑ์การดำเนินงานของอาสาสมัคร กศน. ของแต่ละจังหวัด/กรุงเทพมหานคร
2) ให้คำแนะนำหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัด สำนักงาน กศน.จังหวัด/กรุงเทพมหานคร ในการบริหารจัดการและพัฒนาอาสาสมัคร กศน.
3) ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัด/กรุงเทพมหานคร เสนอความเห็นชอบในการแต่งตั้ง อาสาสมัคร กศน.ตามที่สถานศึกษากำหนดต่อคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัด/กรุงเทพมหานคร
 4) เสนอเพิกถอนการเป็นอาสาสมัคร กศน. ที่มีความประพฤติเสียหาย ต่อคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัด/กรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี
5) จัดให้ผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นอาสาสมัคร กศน. ของ กศน.อำเภอ/เขต เข้ารับการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่ สำนักงาน กศน. กำหนด
6) ดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้ผ่านการอบรมเป็นอาสาสมัคร กศน. และออกบัตรประจำตัวตามแบบที่ สำนักงาน กศน. กำหนด
7) จัดทำรายงานการปฏิบัติงานของ อาสาสมัคร กศน. เสนอคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัด/กรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี เป็นประจำปีงบประมาณ

5.2 บทบาทของ กศน.อำเภอ/เขต

1) กำหนดจำนวนอาสาสมัคร กศน. อำเภอ/เขต และรายงานสำนักงาน กศน. จังหวัด/กรุงเทพมหานคร
2) กศน.อำเภอ/เขต ร่วมกับชุมชนดำเนินการสรรหาและคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติ เพื่อเข้ารับการอบรมและรายงานสำนักงาน กศน.จังหวัด/กรุงเทพมหานคร
3) แต่งตั้งผู้มีคุณสมบัติครบหรือผู้ที่ได้รับการยกเว้นเป็นอาสาสมัคร กศน.
4) มอบหมายภารกิจหน้าที่ให้กับอาสาสมัคร กศน. และกำกับติดตามผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัคร กศน.
5) ส่งเสริม สนับสนุน และเสริมสร้างศักยภาพในการปฏิบัติงานแก่อาสาสมัคร กศน.
6) จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัคร กศน. ให้สำนักงาน กศน.จังหวัด/เขต และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง

5.3 บทบาทหน้าที่ของ ครู กศน.

1) ร่วมกับ อาสาสมัคร กศน.สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับ
      1.1) จัดรวมกลุ่มเป้าหมาย 50 หลังคาเรือน
      1.2) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย/ชุมชน
      1.3) วิเคราะห์ข้อมูล และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
2) ร่วมกับอาสาสมัคร กศน. จัดทำแผนงาน/โครงการ ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย/ชุมชน(แผนชุมชน) แผนงาน/โครงการแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ แผนงาน/โครงการสำหรับกลุ่มเป้าหมายทั่วไป และแผนงาน/โครงการสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ
3) ร่วมกับอาสาสมัคร กศน. ปฏิบัติงานจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย  การปฏิบัติงานมี 3 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 เตรียมกลุ่มเป้าหมายให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของโครงการและกิจกรรม
ขั้นตอนที่ 2 ดำเนินการจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้
ขั้นตอนที่ 3 ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการจัดกิจกรรม กศน. ให้ดียิ่งขึ้น

4) ร่วมกับ อาสาสมัคร กศน. นิเทศ เยี่ยมเยียน กลุ่มเป้าหมาย
5) ร่วมกับ อาสาสมัคร กศน. ในการประเมินโครงการ/กิจกรรม

5.4 บทบาทหน้าที่ และจรรยาบรรณ ของ อาสาสมัคร กศน.

5.4.1 บทบาทหน้าที่  ของ อาสาสมัคร กศน.

1) เสนอความต้องการในการเรียนรู้ของประชาชน โดยประสานกับ ครู กศน. ตำบล
2) ประชาสัมพันธ์ สื่อสาร เผยแพร่ข้อมูล เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ให้แก่ประชาชน
3) ส่งเสริม สนับสนุน และร่วมจัดกิจกรรม กศน.
4) ร่วมกับ ครู กศน. ตำบล ในการติดตามผล การจัดกิจกรรม กศน. ในชุมชน
5) ส่งเสริม สนับสนุน การรวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านการศึกษาของประชาชนในชุมชน          

5.4.2จรรยาบรรณ ของ อาสาสมัคร กศน

1) เป็นผู้มีอุดมการณ์ ถือประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน
2) เป็นผู้บำเพ็ญประโยชน์แก่ชุมชนอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง
3) มีความเสียสละ ซื่อสัตย์สุจริต สามัคคีและศรัทธาในการปฏิบัติงาน
4) เป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียนและพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา

6. สิทธิประโยชน์ ของอาสาสมัคร กศน.

1) สิทธิในการเข้าร่วมโครงการและรับบริการจากกิจกรรมต่าง ๆของหน่วยงาน/สถานศึกษา สังกัดสำนักงาน กศน. ทุกรูปแบบ สำหรับตนเองและครอบครัว(ครอบครัว หมายถึง สามีหรือภรรยาและบุตร) โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
2) สิทธิในการเบิกค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน มีดังนี้

2.1) การจ้างดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของงาน กศน. (ไม่ใช่ภารกิจของครู กศน.) หรืองานที่เป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล
2.2) การเป็นวิทยากรสอนวิชาชีพ/สอนเสริม
2.3) การเข้ารับการอบรม สัมมนา ที่ สำนักงาน กศน. ดำเนินการ
2.4) การได้รับการคัดเลือกไปศึกษาดูงานที่เกี่ยวข้องกับภารกิจ

3) มีสิทธิแต่งเครื่องแต่งกายตามที่กำหนด
4) มีสิทธิได้รับประกาศเกียรติคุณ จากสำนักงาน กศน. กรณีมีผลงานดีเด่นอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ตามเกณฑ์การคัดเลือก ที่  กำหนด
5) มีสิทธิได้รับข่าวสารข้อมูล กิจกรรม/โครงการ กศน.
6) มีสิทธิในการออกเสียงคัดเลือกกรรมการเครือข่ายอาสาสมัคร กศน. ในระดับต่าง ๆ
7) มีสิทธิสมัครในการเข้ารับการคัดเลือกเป็นคณะกรรมการเครือข่ายอาสาสมัคร กศน. ในระดับต่าง ๆ
8.) มีสิทธิได้รับการจารึกชื่อในทำเนียบอาสาสมัคร กศน.
9) มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ตาม พ.ร.บ สงเคราะห์ผู้ประสบภัยเนื่องจากช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติหน้าที่มนุษยธรรม พ.ศ. 2497

7. การกำหนดค่าตอบแทนอาสาสมัคร กศน.

1) มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการที่กระทรวงการคลังกำหนด ภายในวงเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร
2) สิทธิในการเบิกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมประเภทบุคคลภายนอก
3) การจ้างดำเนินงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุฯ

 

เอกสารอ้างอิง สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย.(2552). แนวทางการดำเนินงานอาสาสมัคร กศน. . กรุงเทพฯ.โรงพิมพ์อักษรไทย.

อัญชลี ธรรมะวิธีกุล: http://panchalee.wordpress.com/2011/02/07/nfe-voluteer/


********************

การเลื่อนค่าตอบแทนประจำปีของพนักงานราชการ และการขอย้ายพนักงานราชการ

ที่มา  :  อ.เอกชัย ยุติศรี  ครู คศ.3  กศน.อำเภอผักไห่ อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
www.gotoknow.org/blog/nfeph999


การเลื่อนค่าตอบแทนพนักงานราชการ

การเลื่อนค่าตอบแทนของพนักงานราชการทุกตำแหน่ง ถ้ามีระยะเวลาปฏิบัติงานในรอบปีงบประมาณไม่น้อยกว่า 8 เดือน ( คือบรรจุแต่งตั้งเป็นพนักงานราชการก่อน 2 ก.พ. ) จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นค่าตอบแทนในวันที่ 1 ตุลาคม ของทุกปี ตามคะแนนผลการประเมินการปฏิบัติงาน ซึ่งบางคนอาจได้เลื่อนค่าตอบแทนร้อยละ 0.00, 3.25, 3.50, 3.75, 3.85, 4.55, 4.70, 5.00 หรือ 5.42   เช่น ถ้าได้คะแนนประเมิน 1-1.50 คะแนน จะได้เลื่อนค่าตอบแทนร้อยละ 0.00 ( คือไม่ได้เลื่อนฯ),  ถ้าได้คะแนนประเมิน 2.31-2.50 คะแนน จะได้เลื่อนค่าตอบแทนร้อยละ 3.85,  ถ้าได้คะแนนประเมิน 2.91-3.00 จะได้เลื่อนค่าตอบแทนร้อยละ 5.42   ( ซึ่งจะส่งผลให้ ในอนาคต พนักงานราชการที่บรรจุพร้อมกัน ก็ได้ค่าตอบแทนไม่เท่ากัน )

การขอย้ายการปฏิบัติงานตำแหน่งพนักงานราชการ

กจ.กศน. ในเรื่องนี้ ซึ่งไม่มีระเบียบให้พนักงานราชการย้ายได้ แต่มีหนังสือเรื่องการมอบหมายให้พนักงานราชการปฏิบัติงานนอกพื้นที่กำหนดในสัญญา ที่ต่างอำเภอหรือต่างจังหวัดโดยไม่จำกัดระยะเวลา แทน ( ดาวน์โหลดหนังสือฉบับนี้ได้ที่ http://gotoknow.org/file/nfeph999/move1.gif )   กจ.บอกขั้นตอนการดำเนินการตามหนังสือ ดังนี้

             สมมุติว่า เป็นพนักงานราชการอยู่อำเภอ ก. จังหวัด A  ต้องการขอย้ายไปอำเภอ ข. จังหวัด B
 
             1)  ผู้ต้องการขอย้าย บันทึกขอไปปฏิบัติงานที่อำเภอ ข. เสนอต่อ ผอ.กศน.อำเภอ ก. โดยระบุเหตุผลความจำเป็นที่ต้องการขอไปปฏิบัติงานพร้อมแนบหลักฐานที่มี ( เหตุผลความจำเป็นนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ กจ.ใช้ประกอบการพิจารณา )
             2)  กศน.อำเภอ ก. ทำหนังสือราชการส่งเรื่องต่อไปให้ กศน.จังหวัด A พิจารณา
             3)  กศน.จังหวัด A ทำหนังสือราชการถามไปที่ กศน.จังหวัด B
             4)  กศน.จังหวัด B ทำหนังสือราชการตอบ กศน.จังหวัด A ว่ามีตำแหน่งที่ตรงกัน ว่าง และยินดีรับ
             5)  กศน.จังหวัด A แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาว่าสมควรให้ไปหรือไม่  ( จังหวัดที่มีผู้ขอออก เป็นผู้ตั้งคณะกรรมการพิจารณา  ส่วนจังหวัดที่มีผู้ขอเข้า ไม่ต้องตั้งคณะกรรมการพิจารณา )
             6)  ถ้าคณะกรรมเห็นสมควรให้ไป   กศน.จังหวัด A ก็ทำหนังสือส่งเอกสารต่าง ๆ คือ บันทึกขอย้าย, หนังสือยินดีรับของ กศน.จังหวัด B, รายงานการประชุมคณะกรรมการ  ไปให้ กจ.กศน.พิจารณาสั่งให้ไป
 
             ทั้งนี้ ไม่ว่า จะเป็นการไปปฏิบัติงานต่างจังหวัด หรือต่างอำเภอภายในจังหวัด ก็ต้องส่งเอกสารไปให้ กจ.กศน.พิจารณาสั่งการ   โดยถ้าไม่ได้ข้ามจังหวัดก็ไม่ต้องมีขั้นตอนที่ 3) - 4)
             ( ก่อนที่จะบันทึกเสนอขอไปปฏิบัติราชการ เจ้าตัวควรติดต่อขอความเห็นทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องก่อน )
             อนึ่ง  มีจังหวัดส่งเรื่องนี้ไปให้ กจ.พิจารณาแล้วหลายราย แต่ขณะนี้ ( 27 ก.ย.54 ) กจ.ยังไม่ได้พิจารณาเลยแม้แต่รายเดียว เพราะยังติดภาระงานอื่นอยู่ เมื่อเสร็จภาระงานอื่นก็จะนำเรื่องนี้มาพิจารณาต่อไป

ระวังภัย มัลแวร์ใน Android ในรูปแบบของแอนตี้ไวรัส AVG ปลอม

ที่มาของข่าว ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (ไทยเซิร์ต)
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)

วันที่ประกาศ: 12 มิถุนายน 2556
ปรับปรุงล่าสุด: 17 มิถุนายน 2556
เรื่อง: ระวังภัย มัลแวร์ใน Android ในรูปแบบของแอนตี้ไวรัส AVG ปลอม

ประเภทภัยคุกคาม: Malicious Code

ข้อมูลทั่วไป

ไทยเซิร์ตได้รับรายงานมัลแวร์ที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Android เผยแพร่อยู่บนอินเทอร์เน็ต ในการโจมตีผู้ไม่ประสงค์ดีจะหลอกผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตให้เปิดหน้าเว็บไซต์ธนาคารปลอม ซึ่งในหน้าเว็บไซต์ดังกล่าวจะมีการปรับแต่งให้เสมือนว่าเป็นหน้าของเว็บไซต์จริงทั้งหมด รวมถึงมีการแจ้งเตือนให้ผู้ใช้งานดาวโหลดแอปพลิเคชันแอนตี้ไวรัสที่ชื่อว่า AVG ได้ฟรี โดยแอปพลิเคชันดังกล่าวเป็นแอปพลิเคชันปลอมที่ผู้ไม่ประสงค์ดีสร้างขึ้นมาเลียนแบบแอปพลิเคชันแอนตี้ไวรัสของ AVG และมีวัตถุประสงค์เพื่อขโมยข้อมูล SMS บนโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้งานที่ติดตั้งแอปพลิเคชันดังกล่าว
  • http://avg.<สงวนข้อมูล>.mobi/avg.apk
    • File Name: avg.apk
    • File size: 279,115 bytes
    • MD5: d232f20d95f97147c36ec246c8a140a6
    • SHA1: 9b165adf118e957ecc50c063ca5bd0013cb9fe2a
ทีมไทยเซิร์ตได้ตรวจสอบข้อมูลต่างๆของแอปพลิเคชันที่อยู่ในไฟล์ .apk โดยวิธีการ Reverse Engineering พบว่ามีโครงสร้างซอร์สโค้ด ดังรูปที่ 1
รูปที่ 1 แสดงโครงสร้างของไฟล์ avg.apk
รูปที่ 1 แสดงโครงสร้างของไฟล์ avg.apk
ไฟล์ AndroidManifest.xml เป็นไฟล์ที่ใช้กำหนดคุณสมบัติของแอปพลิเคชัน รวมถึงกำหนดสิทธิ (Permission) ที่แอปพลิเคชันนั้นสามารถเข้าถึงได้ ซึ่งพบว่าแอปพลิเคชั่นดังกล่าวมีความสามารถในการอ่าน เขียน และส่ง SMS อย่างไรก็ตาม ไม่พบว่าแอปพลิเคชันนี้มีสิทธิในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ ดังรูปที่ 2
รูปที่ 2 ข้อมูลจากไฟล์ AndroidManifest.xml
รูปที่ 2 ข้อมูลจากไฟล์ AndroidManifest.xm
เมื่อตรวจสอบซอร์สโค้ดของแอปพลิเคชั่น พบว่ามีฟังก์ชันในการส่ง SMS ไปยังหมายเลขโทรศัพท์ที่อยู่ในประเทศอังกฤษ (+447624803598) ดังรูปที่ 3
รูปที่ 3 แสดงฟังก์ชั่นที่แสดงให้เห็นว่ามีการตั้งค่าและมีการส่ง SMS ไปยังหมายเลข +447624803598
รูปที่ 3 แสดงฟังก์ชั่นที่แสดงให้เห็นว่ามีการตั้งค่าและมีการส่ง SMS ไปยังหมายเลข +447624803598
เมื่อทดลองติดตั้งแอปพลิเคชันลงในโปรแกรมโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานระบบปฏิบัติการ Android พบไอคอนของแอปพลิเคชันที่ชื่อ AVG AntiVirus ดังรูปที่ 4
รูปที่ 4 ไอคอนของแอปพลิเคชันที่ถูกติดตั้ง
รูปที่ 4 ไอคอนของแอปพลิเคชันที่ถูกติดตั้ง
เมื่อเปิดเข้าไปยังแอปพลิเคชันดังกล่าว จะพบหน้าจอเป็นรูปโลโก้แอนตี้ไวรัส และมีลักษณะเป็นช่องกรอกข้อมูลพร้อมหมายเลขรายละเอียด "777390927" แต่จากการตรวจสอบพบว่าเป็นเพียงรูปโลโก้และไม่สามารถแก้ไขข้อมูลหรือทำอะไรได้ เมื่อทดสอบกดที่ปุ่ม OK พบว่าแอปพลิเคชันจะปิดตัวลงโดยอัตโนมัติ รวมถึงจากการวิเคราะห์ซอร์สโค้ดร่วมกับการทดสอบจริงพบว่ามีการซ่อนไอคอนของแอปพลิเคชันภายหลังจากการรีบูตหรือปิดเครื่อง ซึ่งจุดประสงค์คาดว่าต้องการอำพรางการทำงานของแอปพลิเคชันดังกล่าว
รูปที่ 5 ตัวอย่างหน้าจอแอปพลิเคชันปลอมของแอนตี้ไวรัส
รูปที่ 5 ตัวอย่างหน้าจอแอปพลิเคชันปลอมของแอนตี้ไวรัส
จากการตรวจสอบเพิ่มเติม ทางไทยเซิร์ตพบความสามารถในการสั่งการและตอบสนองการสั่งการจากเครื่องที่เป็น C&C (Command & Control) โดยทำผ่าน SMS ตัวอย่างหน้าจอการโต้ตอบกับ C&C เป็นดังรูปที่ 6 ซึ่งสามารถอธิบายการทำงานได้ดังนี้
  1. เครื่องที่เป็น C&C คือเครื่อง iPhone มีหมายเลขโทรศัพท์คือ +66819xxxxxx
  2. เครื่องที่ตกเป็นเหยื่อ คือเครื่อง Android มีหมายเลขโทรศัพท์คือ 083xxxxxxx
  3. เครื่อง C&C ส่ง SMS ไปที่เครื่องเหยื่อ โดยมีข้อความว่า "set admin +66819xxxxxx" เพื่อกำหนดให้เครื่องของเหยื่อรับคำสั่งจากเครื่องที่มีหมายเลขโทรศัพท์ +66819xxxxxx
  4. เครื่องของเหยื่อตอบกลับมาด้วยข้อความ "yes we are"
  5. เครื่อง C&C ส่งคำสั่ง "On" ไปเพื่อบอกว่า ให้เครื่องของเหยื่อส่งต่อ SMS ทุกอย่างที่ได้รับมาที่เครื่องของ C&C
  6. หลังจากที่เครื่องของเหยื่อได้รับคำสั่ง จะส่ง SMS ตอบกลับมาว่า "Oh ok"
  7. หลังจากนั้น ไม่ว่าจะมี SMS อะไรส่งเข้ามาที่เครื่องของเหยื่อ SMS นั้นจะถูกส่งต่อมาที่เครื่องของ C&C และหลังจากที่ส่งต่อ SMS นั้นมาที่เครื่องของ C&C แล้ว เครื่องของเหยื่อจะลบ SMS ต้นฉบับทิ้งเพื่อไม่ให้ผู้ใช้สังเกตเห็นความผิดปกติ
  8. จากรูปจะพบว่าเมื่อเครื่องที่มีหมายเลขโทรศัพท์คือ +66815xxxxxx ส่งข้อความว่า "message test 1234." เข้ามาที่เครื่องของเหยื่อ SMS นั้นจะถูกส่งต่อมาที่เครื่อง C&C พร้อมทั้งระบุหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ส่ง
  9. หากเครื่อง C&C ส่งคำสั่งมาว่า "off" เครื่องของเหยื่อจะหยุดการส่ง SMS มาที่เครื่องของ C&C พร้อมกับส่งข้อความว่า "Eh no"
รูปที่ 6 ตัวอย่างหน้าจอการโต้ตอบกับ C&C ของเครื่องที่ติดแอนตี้ไวรัสปลอม
รูปที่ 6 ตัวอย่างหน้าจอการโต้ตอบกับ C&C ของเครื่องที่ติดแอนตี้ไวรัสปลอม

ผลกระทบ

ผู้ใช้ที่ติดตั้งแอปพลิเคชันดังกล่าวอาจถูกขโมยข้อมูลสำคัญจาก SMS เช่น ข้อมูลรหัส OTP สำหรับเข้าทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งอาจถูกนำไปใช้โดยผู้ไม่ประสงค์ดีและนำไปสู่การขโมยเงินจากบัญชีธนาคารภายหลังได้

ระบบที่ได้รับผลกระทบ

ระบบปฏิบัติการ Android ที่ติดตั้งแอปพลิเคชันแอนตี้ไวรัส AVG ปลอม

ข้อแนะนำในการป้องกันและแก้ไข

จะเห็นได้ว่า การโจมตีดังกล่าวนี้เกิดจากการที่ผู้ไม่หวังดีหลอกให้ผู้ใช้ติดตั้งแอปพลิเคชันหลอกลวงที่อ้างว่าเป็นแอนตี้ไวรัสเพื่อใช้ตรวจสอบมัลแวร์บนโทรศัพท์มือถือ โดยแหล่งที่มาของแอปพลิเคชันนั้นไม่ได้มาจากเว็บไซต์จริงของเว็บไซต์ผู้พัฒนา และเป็นการติดตั้งแอปพลิเคชันจากแหล่งซอฟต์แวร์ภายนอกที่ไม่ใช่ Google Play Store และเมื่อมีการใช้งานแอปพลิเคชันแอนตี้ไวรัสของ AVG ที่ดาวโหลดจาก Google Play Store มาทดสอบ พบว่าสามารถตรวจจับการทำงานที่เป็นอันตรายของแอปพลิเคชันปลอมดังกล่าวได้ดังรูปที่ 7 รวมถึงเมื่อนำไฟล์มัลแวร์ไปตรวจสอบบนเว็บไซต์ www.virustotal.com แล้วพบว่าเป็นมัลแวร์ตระกูลชื่อ Zitmo ซึ่งมีความสามารถในการขโมยข้อมูล SMS เป็นหลัก
รูปที่ 7 ตัวอย่างหน้าจอแอปพลิเคชันของแอนตี้ไวรัส AVG ที่ดาวโหลดจาก Google Play Store และสามารถตรวจจับพฤติกรรมอันตรายของแอปพลิเคชันดังกล่าวได้
รูปที่ 6 ตัวอย่างหน้าจอแอปพลิเคชันของแอนตี้ไวรัส AVG ที่ดาวโหลดจาก Google Play Store และสามารถตรวจจับพฤติกรรมอันตรายของแอปพลิเคชันปลอมดังกล่าวได้
การป้องกันตัวไม่ให้ตกเป็นเหยื่อจากจากการโจมตีด้วยวิธีดังกล่าว ผู้ใช้งานควรพิจารณาแอปพลิเคชันที่จะติดตั้งลงในโทรศัพท์มือถืออย่างรอบคอบ ไม่ควรติดตั้งแอปพลิเคชันที่มีแหล่งที่มาไม่น่าเชื่อถือ รวมถึงตรวจสอบการร้องขอสิทธิ (Permission) ของแอปพลิเคชันนั้นๆ ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่
อย่างไรก็ตาม ปัญหามัลแวร์ในระบบปฏิบัติการ Android ไม่ใช่เรื่องใหม่ ทางไทยเซิร์ตได้เคยนำเสนอวิธีการตรวจสอบและป้องกันปัญหามัลแวร์ รวมถึงวิธีการใช้งานโทรศัพท์มือถือให้ปลอดภัย ผู้อ่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากบทความ
  • แนวทางการใช้งานโทรศัพท์มือถือให้ปลอดภัยจากภัยคุกคาม [1]
  • รู้ทันและป้องกัน Malware ในระบบปฏิบัติการ Android [2]
  • รู้ทันและป้องกัน Malware ในระบบปฏิบัติการ Android ตอนที่ 2 [3]

อ้างอิง

  1. http://www.thaicert.or.th/papers/general/2011/pa2011ge010.html
  2. http://www.thaicert.or.th/papers/technical/2012/pa2012te003.html
  3. http://www.thaicert.or.th/papers/technical/2012/pa2012te011.html

ระวังภัย เว็บไซต์สำนักข่าวหลายแห่งในประเทศไทยถูกเจาะ ฝังโทรจันที่หลอกให้ดาวน์โหลดแอนตี้ไวรัสปลอม

ที่มาของข่าว ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (ไทยเซิร์ต)
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)

วันที่ประกาศ: 13 มิถุนายน 2556
ปรับปรุงล่าสุด: 14 มิถุนายน 2556
เรื่อง: ระวังภัย เว็บไซต์สำนักข่าวหลายแห่งในประเทศไทยถูกเจาะ ฝังโทรจันที่หลอกให้ดาวน์โหลดแอนตี้ไวรัสปลอม

ประเภทภัยคุกคาม: Malicious Code

ข้อมูลทั่วไป

เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2556 ทีมไทยเซิร์ตได้พบว่าเว็บไซต์ของสำนักข่าวหลายแห่งในประเทศไทยได้ถูกเจาะระบบเพื่อฝังโทรจันที่โจมตีผ่านช่องโหว่ของ Java ดังรูปที่ 1 ซึ่งโทรจันนี้สามารถถูกติดตั้งลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ได้ในทันทีที่เข้าเว็บไซต์ดังกล่าว (Drive-by-Download)

รูปที่ 1 ตัวอย่างโทรจันที่พบในเว็บไซต์สำนักข่าวแห่งหนึ่ง
โทรจันจะตรวจสอบการใช้งานเบราว์เซอร์ เมื่อพบว่าผู้ใช้ล็อกอินเข้าใช้งานเว็บไซต์ของธนาคารออนไลน์ในประเทศไทย จะแทรกหน้าจอสำหรับกรอกข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์มือถือ ดังรูปที่ 2, 3, 4 และ 5 ซึ่งหากผู้ใช้หลงเชื่อและกรอกข้อมูลลงไป จะมี SMS พร้อมลิงก์สำหรับดาวน์โหลดแอปพลิเคชันของ Android ชื่อ AVG AntiVirus Mobile Pro ส่งมาที่โทรศัพท์มือถือ ซึ่งแอปพลิเคชันดังกล่าวนี้เป็นแอนตี้ไวรัสปลอม มีจุดประสงค์เพื่อดักรับข้อมูล SMS OTP ที่ผู้ใช้จะได้รับเมื่อล็อกอินเข้าใช้งานเว็บไซต์ธนาคาร ตามรายละเอียดที่ไทยเซิร์ตเคยแจ้งเตือนไปก่อนหน้านี้ [1]

รูปที่ 2 ตัวอย่างหน้าจอให้ดาวน์โหลดโปรแกรม AVG ปลอมที่โทรจันแทรกเข้าไปในหน้าเว็บไซต์ธนาคารกสิกรไทย

รูปที่ 3 ตัวอย่างหน้าจอให้ดาวน์โหลดโปรแกรม AVG ปลอมที่โทรจันแทรกเข้าไปในหน้าเว็บไซต์ธนาคารกรุงไทย

รูปที่ 4 ตัวอย่างหน้าจอให้ดาวน์โหลดโปรแกรม AVG ปลอมที่โทรจันแทรกเข้าไปในหน้าเว็บไซต์ธนาคารกรุงเทพ

รูปที่ 5 ตัวอย่างหน้าจอให้ดาวน์โหลดโปรแกรม AVG ปลอมที่โทรจันแทรกเข้าไปในหน้าเว็บไซต์ธนาคารไทยพาณิชย์
ผู้ใช้จะสังเกตได้ยากว่าเว็บไซต์ของธนาคารถูกเปลี่ยน เนื่องจากการทำงานของโทรจันจะเข้าไปแก้ไขข้อมูลที่แสดงผลอยู่ในเบราว์เซอร์ ไม่ใช่การสร้างเว็บไซต์ปลอม ทำให้การเชื่อมต่อแบบ HTTPS และข้อมูลใบรับรองดิจิทัล (Digital Certificate) ที่แสดงอยู่ในเว็บไซต์ เป็นใบรับรองฯ จริงของธนาคาร
ทางไทยเซิร์ตได้ติดต่อไปยังผู้ดูแลเว็บไซต์ของสำนักพิมพ์ที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งประสานงานกับหน่วยงาน CERT ในประเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือในการแก้ไขช่องโหว่และปิดเว็บไซต์ที่เผยแพร่โทรจันแล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เข้าใช้งานเว็บไซต์ของสำนักพิมพ์ในตอนที่ถูกเจาะระบบอาจถูกติดตั้งโทรจันลงในเครื่องได้

ผลกระทบ

ผู้ใช้ที่เข้าเว็บไซต์ของสำนักพิมพ์ที่ถูกเจาะระบบเพื่อฝังมัลแวร์ดังกล่าว อาจถูกติดตั้งมัลแวร์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ และอาจถูกหลอกให้ติดตั้งมัลแวร์ลงในโทรศัพท์มือถือ เพื่อที่ผู้ไม่หวังดีสามารถขโมยเงินจากธนาคารได้

ระบบที่ได้รับผลกระทบ

  • ระบบปฏิบัติการ Windows ที่ติดตั้ง Java
  • Internet Explorer
  • โทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android
  • ผู้ที่เข้าใช้งานเว็บไซต์สำนักข่าวในประเทศไทยที่ถูกฝังโทรจัน ในวันที่ 12 - 13 มิถุนายน 2556 (หรืออาจรวมถึงช่วงก่อนหน้านั้น)
หมายเหตุ: ข้อมูลเวอร์ชั่นของระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ที่ได้รับผลกระทบ อยู่ระหว่างการตรวจสอบ ทางทีมไทยเซิร์ตจะแจ้งให้ทราบต่อไป

ข้อแนะนำในการป้องกันและแก้ไข

วิธีการตรวจสอบ
จากการตรวจสอบของทีมไทยเซิร์ต พบว่าโทรจันที่พบนี้เป็นเวอร์ชั่นดัดแปลงของโทรจันที่ชื่อ Critex ซึ่งเคยถูกใช้ในการโจมตีธนาคารต่างประเทศมาแล้วเมื่อต้นปี 2555[2] ซึ่งผู้ที่เจาะระบบเว็บไซต์ของสำนักพิมพ์ได้ดัดแปลงให้โทรจันนี้โจมตีธนาคารในประเทศไทย เนื่องจากโทรจันที่พบนี้เป็นเวอร์ชั่นดัดแปลง จึงอาจทำให้โปรแกรมแอนตี้ไวรัสจำนวนหนึ่งไม่สามารถตรวจจับโทรจันนี้ได้
หลังจากที่ผู้ใช้เข้าใช้งานเว็บไซต์ที่มีโทรจันฝังอยู่ ไฟล์ของโทรจันจะถูกติดตั้งลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีการตั้งค่าระบบให้มีการเรียกใช้งานไฟล์ดังกล่าวทุกครั้งที่เปิดเครื่อง
เนื่องจากไฟล์ของโทรจันถูกซ่อนไว้ ในการตรวจสอบเครื่องคอมพิวเตอร์ว่ามีไฟล์ของโทรจันอยู่หรือไม่ ผู้ใช้จำเป็นต้องตั้งค่าระบบให้แสดงผลไฟล์และโฟลเดอร์ที่ถูกซ่อน โดยสามารถทำได้ดังนี้
ตัวอย่างการตั้งค่า Windows XP และ Windows 7 ให้แสดงผลไฟล์และโฟลเดอร์ที่ถูกซ่อน เป็นดังรูปที่ 6 และ 7

รูปที่ 6 แสดงวิธีการตั้งค่า Windows XP ให้แสดงผลไฟล์และโฟลเดอร์ที่ถูกซ่อน

รูปที่ 7 แสดงวิธีการตั้งค่า Windows 7 ให้แสดงผลไฟล์และโฟลเดอร์ที่ถูกซ่อน
จากนั้นให้ตรวจสอบว่ามีไฟล์ตามตัวอย่างรายชื่อด้านล่างอยู่ในเครื่องหรือไม่
  • C:\Users\admin\AppData\Local\Temp\fvJcrgR.exe (ชื่อไฟล์สุ่ม ขนาดไฟล์ 64000 bytes)
  • C:\Users\admin\AppData\Roaming\KB00695775.exe (ชื่อไฟล์ KB ตามด้วยหมายเลขสุ่ม 8 ตัว)
  • C:\Users\admin\AppData\Local\Temp\POSDDA1.tmp
  • C:\Users\admin\AppData\Local\Temp\POSDDA1.tmp.BAT
หากพบไฟล์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันอาจเป็นไปได้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่ได้ติดโทรจันแล้ว
วิธีการแก้ไข
การลบไฟล์ของโทรจันออกจากเครื่อง อาจไม่สามารถทำได้ด้วยวิธีปกติ เนื่องจากโทรจันกำลังเรียกใช้งานไฟล์ดังกล่าวอยู่ วิธีการลบไฟล์อาจทำได้โดยเข้าไปลบใน Safe mode ซึ่งสามารถทำได้โดยการ Restart เครื่องแล้วกดปุ่ม F8 ก่อนที่หน้าจอจะปรากฏโลโก้ของ Windows
วิธีการเข้า Safe mode ของระบบปฏิบัติการ Windows เวอร์ชั่นต่างๆ มีดังนี้
สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ สามารถตรวจสอบ และลบ Registry ที่ถูกมัลแวร์เข้าไปเปลี่ยนแปลงได้ตามรายการด้านล่างนี้
  • HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Run\"KB00582800.exe" = "C:\Documents and Settings\admin\Application Data\KB00582800.exe"
หมายเหตุ: ชื่อ "KB00582800.exe" เป็นชื่อไฟล์ที่มัลแวร์สร้าง ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามแต่ละเครื่อง
อย่างไรก็ตาม โดยในขณะที่ดำเนินการตรวจสอบโทรจัน ทางไทยเซิร์ตพบว่าโปรแกรมแอนตี้ไวรัสโดยส่วนใหญ่ไม่สามารถตรวจสอบและกำจัดโทรจันนี้ได้ ขณะนี้ทางไทยเซิร์ตอยู่ระหว่างการประสานงานไปยังผู้ผลิตซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสเพื่อขอให้ช่วยอัพเดตฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการกำจัดโทรจันที่พบนี้ต่อไป
วิธีการป้องกัน
1. จากการตรวจสอบพบว่าหากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้ง Java 6 เปิดเข้าใช้งานเว็บไซต์ที่มีโทรจันฝังอยู่ โทรจันดังกล่าวจะถูกดาวน์โหลดและถูกเรียกใช้งานที่เครื่องของผู้ใช้โดยทันที
แต่จากการตรวจสอบบนระบบที่ติดตั้ง Java 7 Update 21 ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นล่าสุด พบว่าจะมีหน้าจอแจ้งเตือนการใช้งาน Java Applet ที่อาจไม่ปลอดภัย ดังรูปที่ 8 หากผู้ใช้งานคลิกปุ่ม Cancel โทรจันดังกล่าวจะไม่ถูกเรียกใช้งาน

รูปที่ 8 ตัวอย่างหน้าจอการแจ้งเตือนเมื่อเปิดเว็บไซต์ด้วย Java 7 Update 21
ผู้ใช้สามารถอัพเดท Java ให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด โดยดาวน์โหลดได้ที่่ http://www.java.com/en/download/
2. ผู้ใช้ควรสังเกตการแจ้งเตือนของเว็บเบราว์เซอร์ ในกรณีที่ได้รับการแจ้งเตือนว่าเว็บไซต์นั้นไม่ปลอดภัย ดังรูปที่ 9 และ 10 ไม่ควรเข้าใช้งานเว็บไซต์นั้น

รูปที่ 9 ตัวอย่างการแจ้งเตือนของ Google Chrome

รูปที่ 10 ตัวอย่างการแจ้งเตือนของ Mozilla Firefox
3. หากเครื่องของผู้ใช้ไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน Java ควรพิจารณาถอนการติดตั้ง Java ออก หรือปิดการทำงานของ Java ในเว็บเบราว์เซอร์ [3] เป็นอย่างน้อย
4. อัพเดตฐานข้อมูลของโปรแกรมแอนตี้ไวรัสอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้สามารถตรวจจับและป้องกันมัลแวร์ใหม่ๆ ได้

อ้างอิง

  1. https://www.thaicert.or.th/alerts/user/2013/al2013us007.html
  2. http://labs.m86security.com/2012/03/the-cridex-trojan-targets-137-financial-organizations-in-one-go/
  3. https://www.thaicert.or.th/papers/general/2012/pa2012ge015.html