วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเลื่อนค่าตอบแทนประจำปีของพนักงานราชการ และการขอย้ายพนักงานราชการ

ที่มา  :  อ.เอกชัย ยุติศรี  ครู คศ.3  กศน.อำเภอผักไห่ อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
www.gotoknow.org/blog/nfeph999


การเลื่อนค่าตอบแทนพนักงานราชการ

การเลื่อนค่าตอบแทนของพนักงานราชการทุกตำแหน่ง ถ้ามีระยะเวลาปฏิบัติงานในรอบปีงบประมาณไม่น้อยกว่า 8 เดือน ( คือบรรจุแต่งตั้งเป็นพนักงานราชการก่อน 2 ก.พ. ) จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นค่าตอบแทนในวันที่ 1 ตุลาคม ของทุกปี ตามคะแนนผลการประเมินการปฏิบัติงาน ซึ่งบางคนอาจได้เลื่อนค่าตอบแทนร้อยละ 0.00, 3.25, 3.50, 3.75, 3.85, 4.55, 4.70, 5.00 หรือ 5.42   เช่น ถ้าได้คะแนนประเมิน 1-1.50 คะแนน จะได้เลื่อนค่าตอบแทนร้อยละ 0.00 ( คือไม่ได้เลื่อนฯ),  ถ้าได้คะแนนประเมิน 2.31-2.50 คะแนน จะได้เลื่อนค่าตอบแทนร้อยละ 3.85,  ถ้าได้คะแนนประเมิน 2.91-3.00 จะได้เลื่อนค่าตอบแทนร้อยละ 5.42   ( ซึ่งจะส่งผลให้ ในอนาคต พนักงานราชการที่บรรจุพร้อมกัน ก็ได้ค่าตอบแทนไม่เท่ากัน )

การขอย้ายการปฏิบัติงานตำแหน่งพนักงานราชการ

กจ.กศน. ในเรื่องนี้ ซึ่งไม่มีระเบียบให้พนักงานราชการย้ายได้ แต่มีหนังสือเรื่องการมอบหมายให้พนักงานราชการปฏิบัติงานนอกพื้นที่กำหนดในสัญญา ที่ต่างอำเภอหรือต่างจังหวัดโดยไม่จำกัดระยะเวลา แทน ( ดาวน์โหลดหนังสือฉบับนี้ได้ที่ http://gotoknow.org/file/nfeph999/move1.gif )   กจ.บอกขั้นตอนการดำเนินการตามหนังสือ ดังนี้

             สมมุติว่า เป็นพนักงานราชการอยู่อำเภอ ก. จังหวัด A  ต้องการขอย้ายไปอำเภอ ข. จังหวัด B
 
             1)  ผู้ต้องการขอย้าย บันทึกขอไปปฏิบัติงานที่อำเภอ ข. เสนอต่อ ผอ.กศน.อำเภอ ก. โดยระบุเหตุผลความจำเป็นที่ต้องการขอไปปฏิบัติงานพร้อมแนบหลักฐานที่มี ( เหตุผลความจำเป็นนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ กจ.ใช้ประกอบการพิจารณา )
             2)  กศน.อำเภอ ก. ทำหนังสือราชการส่งเรื่องต่อไปให้ กศน.จังหวัด A พิจารณา
             3)  กศน.จังหวัด A ทำหนังสือราชการถามไปที่ กศน.จังหวัด B
             4)  กศน.จังหวัด B ทำหนังสือราชการตอบ กศน.จังหวัด A ว่ามีตำแหน่งที่ตรงกัน ว่าง และยินดีรับ
             5)  กศน.จังหวัด A แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาว่าสมควรให้ไปหรือไม่  ( จังหวัดที่มีผู้ขอออก เป็นผู้ตั้งคณะกรรมการพิจารณา  ส่วนจังหวัดที่มีผู้ขอเข้า ไม่ต้องตั้งคณะกรรมการพิจารณา )
             6)  ถ้าคณะกรรมเห็นสมควรให้ไป   กศน.จังหวัด A ก็ทำหนังสือส่งเอกสารต่าง ๆ คือ บันทึกขอย้าย, หนังสือยินดีรับของ กศน.จังหวัด B, รายงานการประชุมคณะกรรมการ  ไปให้ กจ.กศน.พิจารณาสั่งให้ไป
 
             ทั้งนี้ ไม่ว่า จะเป็นการไปปฏิบัติงานต่างจังหวัด หรือต่างอำเภอภายในจังหวัด ก็ต้องส่งเอกสารไปให้ กจ.กศน.พิจารณาสั่งการ   โดยถ้าไม่ได้ข้ามจังหวัดก็ไม่ต้องมีขั้นตอนที่ 3) - 4)
             ( ก่อนที่จะบันทึกเสนอขอไปปฏิบัติราชการ เจ้าตัวควรติดต่อขอความเห็นทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องก่อน )
             อนึ่ง  มีจังหวัดส่งเรื่องนี้ไปให้ กจ.พิจารณาแล้วหลายราย แต่ขณะนี้ ( 27 ก.ย.54 ) กจ.ยังไม่ได้พิจารณาเลยแม้แต่รายเดียว เพราะยังติดภาระงานอื่นอยู่ เมื่อเสร็จภาระงานอื่นก็จะนำเรื่องนี้มาพิจารณาต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น