วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Knowledge : Domain Name (โดเมน) คืออะไร ทำไมจะต้องใช้ Domain Name

Knowledge : Domain Name คืออะไร ทำไมจะต้องใช้ Domain Name โดเมน (Domain) คือชื่อของเว็บไซต์ ที่ไม่ซ้ำกัน เช่น thaicreate.com ซึ่งชื่อโดเมนจะมีชื่อ ตามด้วย ดอท (.) เป็นนามสกุลของโดเมน ยกตัวเย่างเช่น .com .net .org ซึ่งโดเมนแต่ล่ะนามสกุล จะมีความหมายที่แตกต่างกันไป ตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน เช่น .xx.th ในปีระเทศไทยจะบ่งบอกถึงประเภทของหน่วยงาน (.co.th = บริษัท) , (.ac.th = สถาบันการศึกษา) , (.go.th = หน่วยงานราชการ) โดยเมื่อมีชื่อ Domain แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ Web Hosting ซึ่ง Domain และ Web Hosting จะทำงานควบคู่กัน

Domain Name


การจดชื่อโดเมนสามารถจดกับผู้ให้บริการ Web Hosting ทั่ว ๆ ไป ซึ่งมีอยู่หลากหลายมาก การคิดราคาจะคิดเป็นรายปี โดยราคาสำหรับ .com , .net , .org จะอยู่ที่ประมาณ 300 - 600 บาท และสำหรับ .xx.th จะอยู่ที่ประมาณ 800-1,000 บาทต่อปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอัตราราคาและโปรโมชั่นของแต่ล่ะค่าย

Domain Name ค่อนข้างจะสำคัญมาก และมีวงจรชีวิตที่แน่นอน บางโดเมนมีมูลค่าหลักแสน หลักล้าน การป้องกันอีเมล์ค่อนข้างจะมีความสำคัญและจำเป็นที่จะต้องรู้ถึงวิธีการใช้งาน และ ป้องกันอย่างถูกวิธี สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากบทความนี้

Knowledge : วงจรชีวิตของ Domain Name การป้องกันการขโมยโดเมน
Knowledge : วงจรชีวิตของ Domain Name การป้องกันการขโมยโดเมน Domain Name นั้นถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของเว็บไซต์ บางโดเมนดี ๆ ชื่อสวย ๆ มีมูลค่าเป็น ร้อยหรือพันล้าน แค่คาดว่าผู้ที่ครอบครองโดเมนเหล่านั้น จะมีความรู้ความสามารถในการป้องกันโดเมนของตัวเองได้อย่างดี แต่เคสเมืองไทย มีหลายเคสที่โดเมน หมดอายุ ลืมต่อ ต่อไมได้ หรือโดเมนถูกขโมย เรียกค่าไถ่ สุดท้ายแล้ว โดเมนเหล่านั้นเมื่อต้องการกลับคืนมา อาจจะต้องเสียเงินถึง หลัก ร้อย พัน หรือ หมื่นเหรียญ คิดเป็นเงินไทย ก็ หลักหมื่นและหลักแสน ถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น ในเมืองโดเมนนั้นเราจำเป็นจะต้องใช้งานอยู่ 

Domain Name

วงจรชีวิตของโดเมน Domain Life Cycle


การเลือกจดชื่อโดเมน ควรจะจดกับผู้ให้บริการโดยตรงที่มีความน่าเชื่อถือและมั่นใว้ใจได้ เช่น Godaddy , Onlinenic หรือในเมืองไทยก็ของ Dotarai หรือจะผ่านผู้ให้บริการอีกขั้นตอนหนึ่ง และควรจัดเก็บพวกรหัสผ่าน รวมทั้ง อีเมล์ ให้เป็นความลับ เพราะช่องทางเหล่านี้เป็นช่องทางหนึ่งไว้สำหรับการขอโมยโดเมน และในเมืองไทยก็มีหลายเคสที่ถูกขโมยโดเมนเพื่อไปเรียกค่าไถ่

แนวทางการป้องกัน Doamin ไม่ให้หมดอายุ และถูกขโมย
  • ต่ออายุครั้งล่ะหลาย ๆ ปี เช่น 2-3 ปีต่อครั้ง
  • ต่ออายุล่วงหน้าซะ 1-2 เดือน ป้องกันการลืม
  • รหัสผ่านควรเป็นความลับ ยากต่อการคาดเดา และเปลี่ยนรหัสผ่านอยู่สมำเสมอ
  • ในส่วนของ Domain ควร Lock เพื่อป้องกันการ Transfer
  • อย่าตอบกลับอีเมล์ใด ๆ ที่เข้าข่ายการหลอกหลวง
  • อีเมล์ที่ใช้ในการลงทะเบียนโดเมน ถือว่าสำคัญมาก
  • เลือกใช้บริการจดโดเมนกับผู้ที่มีความน่าเชื่อถือ และ สามารถให้ความช่วยเหลือได้
  • ตรวจสอบโดเมนอย่างสมำเสมอ เมื่อเจอปัญหาได้ติดต่อโดยด่วนที่สุด
  • เลือกกรอกข้อมูลจริง เพราะถ้าโดเมนถูกขโมย เราจะสามารถอ้างอิงกับ ICANN ได้
  • อย่าใช้ Domain ทำหาร Spam เพราะอาจจะถูกบทลงโทษได้
  • สุดท้ายคือ หาความรู้และอัพเดดความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี่ของ Web Hosting บ่อย ๆ
Image credit : snapnames.com 

ที่มา  http://www.thaicreate.com/web-host/web-host-domain.html

คำแนะนำในการเลือกใช้ Web Hosting เพื่อให้เหมาะสมกับงานและเว็บที่ใช้

คำแนะนำในการเลือกใช้ Web Hosting เพื่อให้เหมาะสมกับงานและเว็บที่ใช้ ทีมงานไทยครีเอทเองได้มีประสบการณ์และเว็บได้เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยี่ Web Hosting ในเมืองไทย ตั้งแต่ยุคแพงของ Web Hosting ในเมืองไทยที่มีอยู่ไม่กี่เจ้า ราคาช่วงนั้นก็แพงกกว่าปัจจุบันหลายเท่ามาก ประเภท Domain + Host (100M) = 3,000/ปี และมีให้เลือกใช้งานไม่กี่สิบเจ้า (ปัจจุบันน่าจะหลักหลายร้อย) และก็ได้มีประสบการณ์การถูกผู้ให้บริการทิ้งความรับผิดชอบ ลอยแพ ทั้งโดเมนและข้อมูล และ ก็ยังมีให้เห็นอยู่ประปรายตามเว็บไซต์ต่าง ๆ ในปัจจุบันทีมงานก็ยังคลุกคลีอยู่กับวงการ Web Server และ Hosting พอสมควร ฉะนั้นบทความนี้อยากจะขอเรียบเรียงประสบการณ์ในการเลือกใช้ Web Hosting ว่าเลือกอย่างไรให้เหมาะสมกับเว็บไซต์ และสามารถใช้ทรัพยากรWeb Hosting ที่เราเช่าให้คุ้มค่า และป้องกันไม่ให้เลือกผู้ให้บริการที่ไร้ความรับผิดชอบ สามารถตอบสนอง ติดตามแก้ไขปัญหาเมื่อเว็บไซต์ล่มได้ตลอดเวลา

Web Hosting Option


ในการเลือก Web Hosting สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงก็คือ กลุ่มเป้าหมายของลูกค้า ถ้าอยู่ในเมืองไทย ให้เช่า Web Hosting ที่อยู่ในเมืองไทย แต่ถ้ากลุ่มลูกค้าต่างชาติให้เช่า Hosting ที่อยู่ Inter เท่านั้น เพราะจะมีผลด้านความเร็วของข้อมูล และมีผลต่อ SEO ในการค้นหาเว็บไซต์ด้วย

ด้านความน่าเชื่อถือ และ คุณภาพของ Server
  • ควรเลือกผู้ให้บริการที่เป็นในรูปแบบของบริษัทเท่านั้น เพราะการติดตามหาผู้รับผิดชอบจะง่ายกว่า
  • ดูจำนวนลูกค้าที่ใช้บริการ และ ตัวอย่างบริษัทที่ใช้บริการ มีชื่อเสียงบ้างหรือไม่
  • ใช้เครื่อง Server รุ่นอะไร ยี่ห้อ Spec อะไร หลีกหนี้ผู้ให้บริการที่เลือกใช้ PC หรือ Server ประกอบ
  • เปิดมานานแค่ไหน หรือไม่ มีผู้ใช้บ่นเรื่องบริการหรือไม่ ลองใช้การค้นหา ปัญหาผู้ร้องเรียนตามกระทู้ทั่ว ๆ ไป
  • ล่มบ่อยแค่ไหน สำหรับ Web Hosting ทั่ว ๆ ไปควรล่มไม่เกิน 1 ครั้งต่อ 1 เดือน และไม่ควรเกิน 1 ชม.
  • สถานที่ติดต่อได้สะดวก มีเบอร์โทรศัพท์พื้นฐาน และ แผนกที่รับผิดชอบแน่นอน
  • ความจริงใจต่อผู้ใช้บริการ ไม่เปิดขายหลายเว็บ เพื่อเน้นจำนวนลูกกค้า มากกว่าคุณภาพของบริการ
  • ถ้าให้ดีเลือกที่มี การันตี คืนเงิน 30 วัน เป็นต้น


คุณสมบัติ Disk/Bandwidth และ ราคา
  • เลือกใช้ Disk ที่เหมาะสมตามอัตราการใช้งาน
  • Bandwidth อันนี้สำคัญมาก อย่าเลือกผู้ให้บริการที่ใช้ Bandwidth Unlimited เด็ดขาด เพราะปัญหา Server โหลดและล่มจะตามมาไม่ช้าก็เร็ว
  • สอบถามจำนวนเว็บไซต์ต่อเครื่อง ซึ่งในทางปฏิบัติจำนวนเว็บไซต์ จะอยู่ที่ 50-60 เว็บ ต่อ 1 Server จะเหมาะสมที่สุด
  • ราคาที่เหมาะสมไม่ถูกจนเกินไป ราคาที่เหมาะสำหรับ Plan เล็กสุดคือ 1,000 บาท/ปี มีบวก-ลบ บ้างนิดหน่อย
  • เมื่อเว็บไซต์โตขึ้น มีจำนวนผู้ใช้หลัก 5 พัน/วัน ขึ้นไป ควรเปลี่ยนเป็น VPS หรือ Dedicated Server
  • สุดท้ายให้คิดเสมอว่า เมื่อราคาถูก ก็จะมีเว็บไซต์ใช้จำนวนมาก และนั่นก็คือ จะต้องมาแย่งทรัพยาการของ Server ใช้กันอย่างสนุกสนาน


Web Hosting Option


คุณสมบัติรองรับการใช้งานภาษาอะไรบ้าง
  • ถ้าเว็บพัฒนาด้วย PHP กับ MySQL ควรเลือก Linux Hosting เนื่องจากราคาไม่แพงมาก
  • ถ้าพัฒนาด้วย ASP / ASP.Net และ อื่น ๆ ควรจะเลือกใช้ Windows Hosting เพราะจะรองรันโปรแกรมเหล่านี้ได้
  • ถ้ามีข้อสงสัยอื่น ๆ ให้สอบถามไปยังผู้ให้บริการ ก่อนการตัดสินใจสั่งซื้อบริการทุกอย่าง


Web Hosting Option


คำแนะนำอื่น ๆ 
  • ถ้าต้องการความเสถียรสูงสุด ควรเลือกผู้ให้บริการที่การันตี Uptime และ รับประกันแก้ไขภายในกี่ ชม.
  • ทางเลือกในปัจจุบันเพื่อความเสถียร แนะนำให้ดูพวก Cloud Hosting หรือ Cloud Server
  • ผู้ให้บริการจะต้องให้ความมั่นใจในด้านความปลอดภัยของข้อมูล เช่น มีระบบ Backup ที่ดีหรือไม่
  • ผู้ให้บริการจะต้องมีทีม Support ที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ตลอด 24 ชม.
  • ผู้ให้บริการจะต้องมีระบบการจัดการติดตามแก้ไขปัญหาที่ดี และ รับผิดชอบต่อทุกปัญหา

สรุป
การเลือก Web Hosting อย่าคำนึงถึงแต่ราคาว่าถูกจนเกินไป เพราะจากประสบการณ์แล้ว เว็บไซต์เหล่านี้ เมื่อขายราคาถูก และให้Disk/Bandwidth ในปริมาณสูง ก็จะมีเกิดปัญหาตามมาบ่อยมาก เช่น Server โหลดและล่มรายวัน ซึ่งสาเหตุนี้เกิดจาก มีจำนวนเว็บต่อ Server และใช้งานสูงเกินกว่า Server จะทำงานได้

ที่มา http://www.thaicreate.com/web-host/web-host-web-server-web-hosting-option.html

จะมีเว็บไซต์เป็น (Web Site) ของตัวเองจะต้องทำอะไรบ้าง และจำเป็นจะต้องมีอะไร

จะมีเว็บไซต์เป็น (Web Site) ของตัวเองจะต้องทำอะไรบ้าง และจำเป็นจะต้องมีอะไร ในปัจจุบันการจะมีเว็บไซต์ (Web Site) เป็นของตัวเองนั้นเป็นเรื่องง่ายมาก ใช้งบประมาณต่ำ สามารถใช้งานได้ภายใน 1 วัน แต่ก่อนที่จะสร้างเว็บไซต์ ขั้นแรกจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของตัวเองว่า จะทำเว็บไซต์เกี่ยวกับอะไร และใช้งานด้านไหน และกำหนดกลุ่มผู้ใช้ และสุดท้ายคือตัวเว็บไซต์ ว่าจะเขียนเอง จ้างเขียน หรือใช้ Open Source ที่เป็น CMS , WordPress เข้ามาจัดการ Content ต่าง ๆ 

 (Web Site)


แต่ถ้าใช้งานแค่ส่วนตัวหรือสร้าง Blog ผมแนะนำให้ใช้พวก Free Blog ที่สามารถใช้งานได้ฟรี ๆ แต่อยู่ในรูปแบบของ Sub Domain เช่น blogger.com หรือ th.wordpress.com ซึ่ง 2 ตัวนี้สามารถสร้างเว็บไซต์ที่อยู่ในรูปแบบของ Blog ได้แบบฟรี ๆ แต่จะอยู่ในรูปแบบของ Subdomain เช่น (http://weerachai.wordpress.org) โดยที่ Blog เหล่านี้จะมีรูปแบบของเว็บไซต์ หน้าตาและธีม รวมทั้งระบบจัดการ Content ที่เราสามารถปรับแต่งได้ด้วยตัวเอง

หรือถ้าต้องการที่จะมีโดเมนเป็นของตัวเอง พวก .com , .net ก็อาจจะต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่ก็ไม่สูงมากนัก โดยราคาจดโดเมนจะอยู่ที่ 350-500 บาท/ปี (สำหรับ .com ,.net) และค่าบริการ Web Hosting จะอยู่ที่ 500-3,000 บาท/ปี ขึ้นอยู่กับอัตราราคาตามที่ผู้ให้บริการเป็นผู้กำหนดขึ้น

สรุปสิ่งที่จะต้องมีเมื่อต้องการมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง
  • Domain Name - ชื่อเว็บไซต์ (ค่าจดโดเมนประมาณ 300 - 500 บาท/ปี)
  • Web Hosting - พื้นที่สำหรับเก็บเว็บไซต์ (500-3,000 บาท/ปี)


Domain Name

Domain Name ในปัจจุบัน มีได้หลากหลาย เช่น .com .net .biz .org .th (แต่ล่ะตัวราคาแตกต่างกันไป)


โดยที่ทั้ง 2 บริการ สามารถใช้บริการได้จากผู้ให้บริการเจ้าเดียวกัน หรือจะเลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่งและคนล่ะที่กันก็ได้ ส่วนอัตราคานั้น แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับ เกรดและคุณภาพ ของการบริการ และ คุณภาพของ Web
Server
 ว่าจะดี หรือ ล่มบ่อยแค่ไหน

สำหรับการเลือกใช้ชื่อโดเมน .com .net .biz .org .th ต้องเลือกใช้ให้ถูกประเภท เช่น .com สามารถใช้ได้กับทุกธุรกิจ หรือพวก.co.th ในรูปแบของบริษัท และ .ac.th จะเป็นสถาบันการศึกษา

ในกรณีที่จดโดเมนและเช่าโฮสติ้งเอง เราจะต้องทำการสร้างเว็บไซต์ หรือเขียนเว็บด้วยตัวเอง หรือถ้ามีงบประมาณอาจจะใช้การจ้าง Freelance ต่าง ๆ เป็นผู้ออกแบบเว็บไซต์ให้ หรือถ้าจะง่ายที่สุดใช้พวก Open Source พวก Joomla , WordPress และ Drupalที่สามารถนำมาติดตั้งบน Hosting ของเราได้ทันที

WordPress Joomla Drupal

Joomla , WordPress และ Drupal


ในปัจจุบันราคาค่าจด Domain Name และ Web Hosting นั้นต่ำมาก แต่เมื่อเลือกต่ำมาก ก็จะต้องแลกมากับความเสี่ยงที่สูง กับผู้ให้บริการที่ไม่มีคุณภาพ และใส่ใจ่ต่อคุณภาพของบริการ สำหรับคำแนะนำในการเลือกใช้งาน Web Hosting สามารถอ่านได้จากหัวข้อถัดไป

 (Web Site)

Domain Name + Web Hosting (www.thaicreate.com)


เว็บไซต์ thaicreate.com ปัจจุบันเราใช้การเขียนเว็บเองทั้งหมด โดยใช้ภาษา PHP และ MySQL Database และในปัจจุบัน เราใช้ Web Hosting ของ Windows Azure ที่ทำงานอยู่บน Cloud 

ที่มา http://www.thaicreate.com/web-host/web-host-web-web-site.html

เข้าใจเกี่ยวกับ Web Server และ Web Hosting คืออะไร และใช้งานได้อย่างไร

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Web Server และ Web Hosting ว่า คืออะไร และใช้งานได้อย่างไร บทความในหัวข้อนี้ ตั้งใจจะเขียนเกี่ยวกับพื้นฐานการใช้งาน Web Server และ Web Hosting ส่วนหนึ่งเพราะบทความในไทยครีเอทส่วนมากแล้ว จะเชื่อมโยงเกี่ยวกับการใช้งาน Application บน Server โดยตรงอยู่แล้ว และจุดนี้เองยังขาดการสนับสนุนและความรู้บทความเกี่ยวกับเรื่อง Server อยู่มาก และในโอกาศนี้ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีไม่น้อย ที่จะได้สร้างบทความที่มีประโยชน์ใว้ให้น้อง ๆ สมาชิกหรือสมาชิกคนอื่น ๆ ที่สนใจเกี่ยวกับ Web Server ได้อ่านศึกษากัน โดยบทความที่จะเขียนขึ้นในเว็บไทยครเอทต่าง ๆ อาจจะเป็นเพียงแค่พื้นฐาน Basic เกี่ยวกับ Web Server เท่านั้น ไม่เจาะลึกถึงการใช้งานในขั้นสูง เช่น พื้นฐานเกี่ยวกับ Web Server / Web Hosting การรู้จักส่วนประกอบต่าง ๆ ของ Web Server / Disk / Bandwidth รวมทั้งการติดตั้ง Web Server ทั้งบน Windows Server และ Linux Server และก็การใช้งานพวก Control Panel ของ Direct Admin / Cpanel และรายละเอียดอื่น ๆ ที่คิดว่าจะมีประโยชน์ในการใช้งาน

Web Server คืออะไร ?
เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) คือเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ทำการติดตั้ง Software เกี่ยวกับ Server ที่ทำหน้าที่บริการและส่งข้อมูลให้กับ Client ที่ทำการ Request ข้อมูล และ Web Server จะทำการ Response เพื่อส่งผลลัพธ์ไปยัง Client โดย Web Server ทั่ว ๆ ไปที่เราคุ้น ๆ กันดีคือติดตั้ง Software ที่ชื่อว่า IIS (Internet Information Services) และ Apache โดย Service เหล่านี้จะบริการข้อมูลผ่าน Port : 80 และรับส่งข้อมูลผ่าน Web Browser ส่วนมาก

Web Hosting คืออะไร ?
เว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) คือบริการพื้นที่ที่อยู่บน Web Server ที่ผู้ให้บริการนำ Server ของตัวเองไปตั้งเป็น Web Server และให้บริการด้านการเช่าใช้งาน ผู้ใช้สามารถขอทำการเช่าพื้นที่เหล่านั้นมาใช้งาน โดยที่ผู้ใช้ทีหน้าที่จ่ายค่าบริการ ตามอัตราที่ผู้ให้บริการกำหนดขึ้น และผู้ให้บริการก็มีหน้าที่ ดูแล Web Server ให้สามารถให้บริการและจัดสรรทรัพยากรให้กับผู้ใช้ สามารถที่จะใช้งานได้

Web Server Web Hosting

Web Server and Web Hosting


จากรู้เป็นการอธิบายการทำงานของ Web Server และ Web Hosting ซึ่งจะคอยทำหน้าที่บริการข้อมูล Request และ Response ค่าต่าง ๆ จาก Client โดยที่ Client นั้นจะไม่เจาะจงว่าจะใช้ระบบปฏบัติการอะไร เพียงแค่สามารถสื่อสารกันตามมาตราฐานของ Protocol ที่กำหนดขึ้นเท่านั้น

เครื่อง Computer ที่จะนำมาทำเป็น Web Server มีคุณสมบัติอย่างไร
คุณสมบัติของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะนำมาทำเป็น Web Server นั้น จะต้องขึ้นอยู่กับการใช้งาน เช่นถ้าแค่นำไปใช้งานในบริษัททั่ว ๆ ไปที่ไม่ได้มีผู้ใช้จำนวนมาก และไม่ได้เปิดไว้ตลอดเวลา ก็สามารถที่จะใช้ PC ทั่ว ๆ ไป ทำงานได้เช่นเดียวกัน แต่ถ้าเป็น Web Server ที่ทำงานตลอด 24 ชม. และรองรับการทำงานในอัตราสูง จะต้องเลือกใช้เครื่อง Computer ที่ไว้สำหรับใช้งานเป็น Server โดยเฉพาะ ซึ่งได้ถูกออกแบบมาให้ทำงานได้ตลอด 24 ชม. เพราะเครื่องเหล่านี้ได้มีการใช้ Hardware ที่มีคุณภาพสูง ระบบระบายความเย็นที่ดีกว่า PC รวมทั้งคุณสมบัติความแรงก็ถูกออกแบบมาให้สามารถทำงานหนัก ๆ ได้โดยเฉพาะ และเครื่อง Server สามารถทำงานได้เป็นสิบปี (ถ้าอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม) แต่ทั้งนี้การใช้งานจะต้องมีการซ่อมบำรุงตามระยะเวลาที่กำหนด เช่น HDD ควรจะเปลี่ยนทุก ๆ 2-3 ปี และควรจัดทำระบบ Backup ให้เหมาะสม เผื่อป้องกันการศูนย์หายของข้อมูล

ตัวอย่างของเครื่อง Computer ที่จะนำมาเป็น Web Server
เครื่อง Computer Server ที่จะนำมาเป็น Web Server ในปัจจุบันราคาไม่สูงมาก เพราะแค่มีงบประมาณ 2-3 หมื่น ก็สามารถที่จะมี Server เป็นของตัวเองได้แล้ว และเครื่อง Server ที่นิยมใช้จะเป็นแบบ Rack (แท่งสีเหลี่ยมยาว ๆ) เพราะถ้าใช้แบบ Rack ค่าบริการที่จะนำ Server ไปวางไว้ที่ Data Center (อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง) ก็จะถูกลงด้วยเช่นเดียวกัน และอีกประเภทหนึ่งคือแบบ Tower ซึ่งเหมือน PC ทั่ว ๆ ไป และตัวนี้ค่าบริการการวางที่ Data Center ก็จะเแพงเกือบเท่าตัวของ Server แบบ Rack

ในปัจจุบันเทคโนโลยี่เกี่ยวกับ Server ได้พัฒนามาไกลกว่ายุคก่อน ๆ มาก และการที่เราจะ Web Server ของตัวเอง ก็อาจจะไม่ตอ้งทำเป็นที่จะซื้อเครื่องและนำไปวางไว้ที่ Data Center อีก เพราะได้มีเทรโนโลนี่ใหม่ ๆ เกี่ยวกับ VM , VPS , และ Cloud Serverและอื่น ๆ ที่สามารให้เรามี Web Server เป็นของตัวเองในราคที่ต่ำมาก และ ไม่ต้องลงทุนในการซื้อเครื่อง Server เลย

Web Server Web Hosting

เครื่อง Server แบบ Rack

Web Server Web Hosting

เครื่อง Server แบบ Tower

Software ที่ใช้สำหรับติดตั้งบน Server เพื่อเปลี่ยนให้เป็น Web Server
สำหรับ OS หรือระบบปฏิบัติการที่ใช้งานส่วนใหญ่แล้วจะมีอยู่ 2 ตัว คือ Windows Server และ Linux Server โดยที่ทั้งสอง OS จะสามารถใช้งานในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับรูปแบบของภาษาที่พัฒนา Application เช่นถ้า พัฒนา Application ด้วย ASP,.Net ก็จะใช้ Windows Server (ใช้ IIS เป็น Web Server) แต่ถ้าพวก PHP , Python ,Java (ใช้ Apache เป็น Web Server) ก็จะใช้ Linux กันซะส่วนมาก แต่ในปัจจุบัน ภาษาพวกนี้สามารถใช้งานได้ทั้งบน Windows Server และ Linux Serverได้เช่นเดียวกัน

Web Server Web Hosting

IIS (Internet Information Services) สำหรับ Windows Server

Web Server Web Hosting

Apache สำหรับ Linux Server ซึ่งส่วนมากแล้วจะใช้ร่วมกับภาษา PHP , MySQL Database 

นอกจากนี้เทคโนโลยี่เกี่ยวกับ Web Server ยังมีอีกหลายตัวที่ไมได้พูดถึง แต่ก็เป็นส่วนน้อยมากและเฉาะกลุ่มที่จะได้รู้จักและใช้งาน เพาะฉะนั้นในบทความนี้และบทความถัด ๆ ไป จะเน้นเฉพาะการใช้งาน Windows Server (IIS) กับ Linux (Apache)เท่านั้น